
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยเมนูอาหารที่มีเห็ดส่วนประกอบ ไม่ว่าจะต้ม ผัด แกง ทอด ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ ทำเมนูใดก็อร่อย ซึ่งนอกจากความอร่อยแล้ว วันนี้เราจะมาแนะประโยชน์ของเหล่าทรงคุณค่าเหล่านี้ด้วย ไปดูกันว่ามีชนิดไหนบ้าง
1. เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ
ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”
-เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นເลือด
-เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะເร็งด้วย
-มีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต
-ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
-ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
-ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด
2.เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง
รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง
-ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดมะເร็งเต้านมมากที่สุด สารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็น
ฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะເร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
3. เห็ดฟาง
เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ดีในธรรมชาติ จึงนำมาปรุงอาหารกันอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนไม่รู้ว่า เห็ดฟาง มีสรรพคุณดี ๆ แบบนี้ด้วย
– มีวิตามินซีสูง ทานแล้วช่วยป้องกันโรคเหงือก ເลือดออกตามไรฟัน
– มีสาร volvatioxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัสที่ทำให้ป่วยไข้หวัดใหญ่
– มีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากทานประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อต่าง ๆ
– ช่วยลดความดันโลหิต
– ทางแพทย์แผนโบราณจัดให้เห็ดฟางเป็นเภสัชวัตถุที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน
– เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี และมีไขมันเพียง 0.2 กรัม จัดเป็นอาหารไขมันต่ำ แคลอรีน้อย และไม่มีคอเลสเตอรอล
4. เห็ดหูหนูขๅว
มีคุณประโยชน์คล้าย ๆ กับ “เห็ดหูหนูดำ” แต่การออกฤทธิ์ของเห็ดหูหนูขๅวจะออกฤทธิ์ที่ปอดและกระเพาะอาหาร ส่วนเห็ดหูหนูดำจะออกฤทธิ์ที่ไตและตับ อย่างไรก็ตาม จัดเป็นสุดยอดของเห็ดเช่นเดียวกัน
– ช่วยบำรุงปอด หยุดอาการไอที่เกิดจากปอดแห้ง ไอมีเสมหะปนເลือด
– บำบัดอาการอ่อนเพลีย
– แก้ไอ เสมหะมีເลือดปน อาการร้อนใน
– ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เสริมภูมิคุ้มกัน
– ลดอาการหลอดເลือดหัวใจขาด/ตีบ
– มีฤทธิ์ต้านมะເร็ง ลดอาการแทรกซ้อน ภายหลังการฉายแสงรักษาโรคมะເร็ง
– มีฤทธิ์สงบประสาท ช่วยให้นอนหลับ
5. เห็ดหูหนูดำ
รสสัมผัสกรุบ ๆ กรอบ ๆ จากดอกเห็ดที่มีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้น ทำให้หลายคนชอบทาน และยังพกประโยชน์มาอีกเพียบ
– มีคุณสมบัติที่เย็นกว่าเห็ดหูหนูขๅว จึงช่วยรักษาโรคร้อนใน แก้เจ็บคอ หยุดເลือดออก เช่น ปัสสาวะเป็นເลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร โรคบิด (เนื่องจากເลือดร้อน)
– นำไปต้มกับน้ำตาลจิบเป็นชาแก้ไอได้
– เป็นยาบำรุงເลือดและพลัง รักษาโรคโลหิตจาง
– แก้อาการท้องเสีย โรคริดสีดวงทวาร
– ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
– มีสารอะดีโนซีน ช่วยลดความข้นเหนียวของເลือด จึงลดความเสี่ยงภาวะเส้นເลือดอุดตันหลอดເลือดสมองและหัวใจ
6. เห็ดภู่มาลา(เห็ดหัวลิง)
– เพิ่มความสามารถภูมิคุ้มกัน
-ยับยั้งเซลล์มะເร็ง
-รักษาโรคแผลเรื้อรัง และอักเสบในกระเพาะ ในลำไส้ส่วนต้น
-รักษามะເร็งในกระเพาะและในหลอดอาหาร น้ำต้มสกัดการย่อยอาหารดีขึ้น
-เห็ดหัวลิงแห้งบำบัดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้าที่เกิดจากการวิตกกังวล
-สาร erinaines E.F และ G กระตุ้นส่วนประกอบของการเติบโตของเซลล์ประสาท
7. เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
– ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง
-แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ
-การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบาง ชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์
8.เห็ดกระด้าง
-ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะເร็ง
-กรด eburicoic ที่สามารถใช้สังเคราะห์สารประกอบเสตรียลอยด์ ที่มีบทบาทในการควบคุมร่างกายคนเรา
-บำรุงกำลัง และกาย
ข้อควรระวัง
ทั้งเห็ดหูหนูขๅวและเห็ดหูหนูดำ มีลักษณะทำให้เกิดความชุ่มชื้น ความเย็น ดังนั้นแพทย์แผนจีนจึงแนะนำว่า คนที่ระบบการย่อยอาหาร หรือมีภาวะของร่างกายค่อนไปทางเย็นมาก ๆ ต้องทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติร้อนประกอบด้วย และไม่ควรกินมากในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่หยางร่างกายอ่อนลง และมีภาวะยินของธรรมชาติมาก
เห็ดไหมคะว่าประโยชน์ของเห็ดทั้ง 8 ชนิดนี้มีมากมาย และมีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมาก รู้อย่างงี้แล้วก็อย่าลืมหามาทาน หรือซื้อมาทำให้คนในครอบครัวทาน เพื่อสุขภาพที่ดีด้วยนะคะ
เรียบเรียงโดย : herbtrick.com